วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

Linear Algebra ที่คิดถึง


ตื่นขึ้นมา ทำงาน ตอนยามสี่

ดันปวดฉี่ วิ่งไม่ทัน มันเลยไหล
เปิดตำรา นั่งอ่าน อย่างเย็นใจ
เธอรู้ไหม ว่าฉัน อ่าน...อะไร ???
อ่านไปได้ สักพัก ชักเริ่มง่วง
มันแปรปรวน ผวนผัน ใจหวั่นไหว
ฝันไปถึง คนที่ อยู่แสนไกล
จึงอยากฝาก ดวงใจ ไปกับกลอน
อยากให้ใจ ของเขา symmetry
ไม่ให้มี field อื่นใด มาแอบซ่อน
dependent กับฉัน ทุกขั้นตอน
แม้ตอนนอน ก็ยัง span ใจ
หากใจเขา operate กับใจอื่น
ฉันคงฝืน inverse เขาไม่ได้
จะ transform เขาใหม่ ทั้งดวงใจ
ให้ฉันเป็น basis ในใจดวงเดิม
แต่ฉันทำ ไม่ได้ ดั่งใจหวัง
เขาก็ยัง ปันใจ ให้คนอื่น
เหมือนเข็มแหลม มาทิ่มแทง ทุกวันคืน
ฉันจึงตื่น เพราะยุงร้าย เจ้าตัวดี
บทสุดท้าย ฝากไว้ ก่อนจะจาก
ยุงอุบาทว์ ทำพิษ เลยคิดหนี
กลับไปนอน อย่างเดิม นั่นแหละดี
พอกันที เจ้า linear น่าเพลียใจ


นิราศแล๊ป MIND





คิดถึงแล๊ป MIND ไม่น้อยกว่าที่อื่นใด 
เหมือนหนึ่งดวงใจฉันอยู่ที่นั่น
คิดถึงนุ ถึงน๊อต ถึงหนึ่ง ทุกวัน
ส่วนจูงนั้นก็ยังไม่กลับมา

แป๊ะกับเฉิง น้องใกล้ๆ นั่งข้างๆ
จำต้องห่างจากไกลอาลัยหา
อั๋นอีกเล่าตอนจากไม่ได้ลา
แล้วยังปลาชวนสอนเด็กเลยอดกัน

คิดถึงเพชรตัวอ้วนใหญ่แล๊ปใกล้เคียง
เคยยินเสียง เคยทานข้าว เคยสังสรรค์
เคยสนุก เคยหยอกล้อ เคยเที่ยวกัน
เคยขำขัน ไม่เกรงใจ น้องเอี่ยมเลย

ยังพี่เดชอีกคนลืมไม่ได้
แต่ทำไมเห็น GA ลอยมาเฉยยย...
ชักเริ่มเครียด เดี๋ยวอาจไม่เสบยยย..
เปลี่ยนเรื่องเลย จะคิดถึงใครต่อดี

อันที่จริงอีกหลายคนให้คิดถึง
แต่สุดซึ้งในดวงใจต้องคนนี้
คินดะอิจิ โคนัน คิว แล้วยังมี
จอมโจรคิดหนะสิ เท่ห์สุดเลยยย

พอดีกว่าเพราะเนื้อที่มีจำกัด
แถมยังหาสาระไม่ได้เลยนะคุณเอ๋ย
แต่สุดท้ายที่คิดถึงกว่าใครเลย
จะเฉลยก็อาจารย์บุญเสริมไง...



Question Tag



Question Tag เป็นคำถามชนิดหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้ในการสนทนา โดยผู้ถามต้องการเน้นให้ผู้ฟังมีความคิดเห็นคล้อยตามความคิดของตน

Question Tag บางทีเรียกว่า Tag Question หรือ Tail Question รูปประโยคประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนหัว (Head) และ ส่วนหาง (Tail) เช่น

He speaks English well, doesn't he?   ...   Yes, he does.
You can't do it, can you?   ...   No, I can't.

หลักการเขียน Question Tag มีดังนี้
1. ถ้าส่วนหัวมีรูปเป็นประโยคบอกเล่า ส่วนหางต้องเป็นคำถามปฏิเสธแบบย่อ
2. ถ้าส่วนหัวมีรูปเป็นประโยคปฏิเสธ ส่วนหางต้องเป็นรูปคำถาม (ในกรณีที่มี adverb แสดงความหมายปฏิเสธ เช่น never, seldom, rarely, scarcely, nothing, etc. ให้ถือเป็นประโยคปฏิเสธ)
3. ประธานส่วนหางต้องมาจากส่วนหัว และต้องอยู่ในรูปสรรพนาม
4. ปฏิเสธแบบย่อของ am (am not) ใช้ aren't แทน
5. ประโยคที่ขึ้นต้นด้วย there is, there ... ประธานส่วนหางใช้ there
6. ประโยคที่ขึันต้นด้วย this, that ประธานส่วนหางใช้ it
7. ประโยคที่ขึันต้นด้วย these, those ประธานส่วนหางใช้ they
8. ประโยคที่ขึันต้นด้วย everyone, everybody, anyone, nobody, no one ประธานส่วนหางใช้ they
9. ประโยคคำสั่ง, ห้าม, ขอร้อง, อนุญาติ (ทั้งปฏิเสธและบอกเล่า) ในส่วนหางใช้ will you
10. ประโยคที่ขึ้นต้นด้วย Let's (Let us) ในส่วนหางใช้ shall we
11. ประโยคที่ขึ้นต้นด้วย Let him ในส่วนหางใช้ will you
12. ถ้าประโยคไหนมี used to ให้ถือว่าประโยคนั้นเป็น Past Tense
13. กิริยา need และ dare เป็นได้ทั้งกริยาแท้และกริยาช่วย

การตอบ Question Tag
1. ถ้าประโยคหน้าเป็นบอกเล่า ให้คาดว่าคำตอบเป็น Yes
2. ถ้าประโยคหน้าเป็นปฏิเสธ ให้คาดว่าคำตอบเป็น No
3. คำตอบอาจไม่เป็นไปตามหลักนี้เสมอไป โดยเฉพาะประโยคที่แสดงถึงความจริง

... ที่เล่ามาเนี่ยดูดีมีหลักการ หรือไม่จริง? ...



วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

Relative Pronoun



Relative Pronoun คือ คำที่ใช้เชื่อมประโยค และในเวลาเดียวกันใช้แทนนามที่มาข้างหน้าด้วย โดยวางไว้กลางประโยคเพื่อทำหน้าที่รวมประโยคเล็กๆตั้งแต่สองประโยคขึ้นไป เข้าเป็นประโยคเดียวกัน และเพื่อหลีกเลี่ยงการพูดนามนั้นซ้ำอีก หรือเรียกว่าเป็นตัวสันธาน มี 8 ตัว ได้แก่

1. who ใช้เชื่อมประโยคแทนนามที่เป็นคนที่พูดถึงไปแล้ว โดยทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคต่อไป

2. whom ใช้เชื่อมประโยคแทนนามที่เป็นคนที่พูดถึงไปแล้ว โดยทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยคต่อไป

3. whose ใช้เชื่อมประโยค เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ

4. which ใช้เชื่อมประโยค แทนนามที่เป็น สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ที่พูดถึงแล้ว โดยทำหน้าที่เป็นประธานและกรรมในประโยค 
ถ้ามีบุพบท of ทำหน้าที่แสดงความเป็นเจ้าของใชั of which เชื่อมประโยคแสดงความเป็นเจ้าของ ของสัตว์ สิ่งของ สถานที่

5. that ใช้เชื่อมประโยค แทนนามที่เป็น สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ที่กล่าวมาแล้วข้างหน้า โดยทำหน้าที่ได้ทั้งประธานและกรรม

6. where แทนนามที่เป็นสถานที่ เป็นได้ทั้งประธานและกรรม

7. what แทนนามที่เป็นสิ่งของ ใช้แทน the thing which

8. when แทนนามที่เป็นเวลา เป็นได้ทั้งประธานและกรรม

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

เปิดตำนานไข่พะโล้




วันก่อนนั่งทานข้าวที่โรงอาหารกับเจ้าหมูอ้วน...หนึ่งในกับข้าวที่ข้าพเจ้าสั่งมาทานมีไข่พะโล้อยู่ด้วย แล้วอยู่ๆเจ้าหมูอ้วนก็ถามขึ้นมา...

หมูอ้วน: ทำไมเค้าถึงเรียกพะโล้

ข้าพเจ้า: ไข่พะโล้เนี่ยเหรอ

หมูอ้วน: ช่าย ทำไมเค้าถึงเรียกพะโล้เหรอ

ข้าพเจ้า: ก็เหมือนหมูพะโล้ไง ทำแบบเดียวกันแต่เป็นไข่ก็เลยเรียกไข่พะโล้แทน

หมูอ้วน: แล้วทำไมต้องเป็นพะโล้ (น้ำเสียงเริ่มหงุดหงิด)
            ตั้งแต่หมูพะโล้เลย ทำไมต้องเป็นพะโล้
            อย่าบอกนะว่าทำเหมือนไข่พะโล้เลยเรียกหมูพะโล้ (หงุดหงิดเต็มพิกัด พร้อมดักทุกทาง)

ข้าพเจ้าจึงต้องยอมเปิดตำนานเล่าเรื่องราวของไข่พะโล้ให้หมูอ้วนฟังดังต่อไปนี้...

... กาลครั้งหนึ่ง ประมาณสมัยช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยเริ่มมีการติดต่อการค้ากับต่างชาติมากขึ้น มีทั้งต่างชาติที่เข้ามาติดต่อด้วย และพ่อค้าที่เดินทางออกไปติดต่อการค้า   หนึ่งให้ประเทศที่เรามีการติดต่อการค้าด้วยก็คือประเทศจีน การเข้ามาของชนชาติจีนทำให้วัฒนธรรมหลายๆอย่างเปลียนแปลงไป รวมถึงวัฒนธรรมด้านอาหารการกินด้วย   ทางด้านศาสนาก็เช่นกัน มีการส่งพระภิกษุไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา แลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมต่างๆ  โดยการเดินทางในสมัยนั้นใช้เรือเป็นพาหนะหลัก ทำให้การเดินทางในแต่ละครั้งใช้เวลามากพอสมควร ...

... ในสมัยนั้นเองมีพระภิกษุอยู่รูปหนึ่ง เคยเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศจีน และเกิดติดใจในรสชาติของอาหาร เมื่อกลับมายังบ้านเกิดเมืองนอนแล้วก็ยังไม่อาจลืมรสชาติที่เคยได้สัมผัส เฝ้าวนเวียนนึกถึงอยู่เป็นนิจ และอยากให้ญาติมิตรได้ลิ้มลองรสชาตินั้นบ้าง   เมื่อสบโอกาสจึงได้เดินทางเพื่อไปเสาะหาสูตรอาหารนั้นยังประเทศจีนอีกครั้ง แต่เมื่อกลับมาลองทำก็ยังไม่ได้รสชาติที่ต้องการอีก  ทำให้ต้องเดินทางไปประเทศจีนอีกหลายรอบ...   จนในที่สุดก็สำเร็จ เกิดเป็นรสชาติที่พระภิกษุรูปดังกล่าวเคยได้ลิ้มลอง

... เมื่อบรรดาชาวบ้านได้ชิมก็เกิดความประทับใจ และรู้สึกขอบคุณพระภิกษุรูปนั้นเป็นอย่างมาก พากันสอบถามที่มา สอบถามสูตรของอาหารดังกล่าว และพากันขนานนามให้ว่า "พะโล้" ... โดยมาจากการที่พระภิกษุ โล้เรือไป โล้เรือมาหลายรอบ เพื่อให้ได้อาหารดังกล่าวมานั่นเอง...

ข้าพเจ้า: จบละ ... แหะๆ...

หมูอ้วน: เซ็ง!!!


ps. เรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นเพียงเรื่องที่แต่งขึ้น มิได้มีเจตตาลบลู่ศาสนาหรือพระภิกษุสงฆ์แต่อย่างใด